แปะก๊วย (Ginkgo Biloba หรือ Maidenhair) เป็นสมุนไพรจีนโบราณ พบประวัติเกี่ยวกับแปะก๊วยมาตั้งแต่เมื่อ 300 ล้านปีก่อน โดยมากมักจะนำมาสกัดเป็นยา แปะก๊วยมีสรรพคุณค่อนข้างหลากหลายจนบางประเทศต้องจำกัดให้แพทย์เป็นผู้สั่งเท่านั้น แปะก๊วยนอกจากจะนำมาทำเป็นยาแล้วยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้อีกด้วย แต่จะกินอย่างไรให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด ไปติดตามกันค่ะ
แปะก๊วย กี่แคล
เป็นที่ทราบกันดีว่าแปะก๊วยมีประโยชน์ ซึ่งเราจะเห็นกันได้บ่อยในขนมหวานหลาย ๆ อาทิ เต้าทึงหรือบ๊ะจ่าง เป็นต้น โดยปริมาณของแปะก๊วย 100 กรัมจะให้พลังงาน 182 กิโลแคลอรี
ประโยชน์ของแปะก๊วย
- ช่วยลดอาการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม ช่วยบรรเทาอาการผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดได้
- สามารถป้องกันและรักษาอาการเบาหวานไม่ให้ขึ้นตา
- ใบของแปะก๊วยหากกินเป็นประจำสามารถชะลอความชราและป้องกันโรคมะเร็งได้
- ใบแปะก๊วยช่วยป้องกันและรักษาศูนย์กลางจอประสารทตาไม่ได้ให้เสื่อมได้
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล โดยในเมล็ดแปะก๊วยมีไขมันชนิดที่ละลายในน้ำได้ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ระดับคลอเลสเตอรอลลดลงนั่นเอง
- มีแคลอรีต่ำ
- วิตามินและแร่ธาตุสูง ในเมล็ดแปะก๊วยนั้นอุดมไปด้วยวิตามินบีชนิดต่าง ๆ เช่น ริโบฟลาวิน ไนอะซิน ไทอามีน กรดแพนโทเทนิก โฟเลต และวิตามินบี 6 นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอื่น ๆ อีก เช่น แมงกานีส โพแทสเซียม แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี และเซเรเนียม และทองแดง ซึ่งทองแดงจะมีส่วนสำคัญสำหรับการเสริมสร้างสารสื่อประสาท และระบบเผาผลาญได้อีกด้วยค่ะ
- รักษาโรคเรย์นาร์ด โรคนี้เกิดจากภาวะเส้นเลือดที่ปลายมือตีบตัน ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก ซึ่งหากกินเมล็ดแปะก๊วยก็จะสามารถป้องกันโรคนี้ได้
- รักษาอาการก่อนการมีประจำเดือนหรือกลุ่มอาการ PMS ที่สาว ๆ มักเป็นกันมาก สารสกัดจากเมล็ดแปะก๊วยสามารถบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก และอาการคัดเต้าในช่วงที่มีประจำเดือนได้ ที่สำคัญ ยังช่วยบรรเทาอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากความแปรปรวนของฮอร์โมนในร่างกายได้เช่นกันค่ะ
วิธีกินแปะก๊วยให้ได้ประโยชน์สูงสุด
หลายคนทราบกันดีว่าแปะก๊วยมีนั้นมีประโยชน์ทั้งใบและเมล็ด และทุกอย่างมีทั้งคุณและโทษ ดังนั้น
- การกินแปะก๊วยให้ได้ประโยชน์จึงไม่ควรกินเมล็ดแปะก๊วยที่นำไปอบแล้วมากกว่า 10 เม็ดต่อวัน ไม่เช่นนั้นจะส่งผลให้หายใจลำบาก ชีพจรอ่อน ชักเกร็ง และช็อกหมดสติได้
- ไม่ควรกินใบแปะก๊วยหรือเมล็ดแปะก๊วยสด เพราะเมล็ดแปะก๊วยสดนั้นมีพิษ อาจส่งผลให้เกิดอาการชักและเสียชีวิตได้
ข้อควรระวังจากการกินแปะก๊วย
- อาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการฟกช้ำและทำให้เลือดออกได้ เพราะแปะก๊วยมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด
- หากมีการฉีดสารสกัดจากใบแปะก๊วยโดยการฉีดเข้าเส้นเลือดดำอาจเกิดความไม่ปลอดภัยได้
- คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้คลอดก่อนกำหนดและมีเลือดออกมาขณะคลอด
- ทารกและเด็ก หากใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ ก็ปลอดภัย แต่ถ้าให้ชัวร์ยังไม่ควรให้ลูกกินค่ะ
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของยา
- ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก เพราะแปะก๊วยจะส่งผลต่อการตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินนะคะ
- ผู้ที่กินยาหรือกินอาหารเสิรมเป็นประจำ เพราะจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy: ECT) อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ หากกินแปะก๊วยร่วมกับยาดังนี้
- ยาที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด
- ยาในกลุ่มเอ็ดเสด
- ยาต้านเกล็ดเลือด
- ยากันชัก
- ยารักษาอาการซึมเศร้า
- ยารักษาโรคเบาหวาน
- ยาที่ส่งผลต่อตับ
- สมุนไพรอื่น ๆ อาทิ กระเทียม ซอว์พาเมตโต และเซนต์จอห์นวอร์ต เป็นต้น
หลายคนชอบกินแปะก๊วย เพราะมีรสชาติมัน ๆ เคี้ยวหนึบ ๆ แต่อย่าลืมนะคะ อะไรที่มากไป จากผลดีก็จะกลายเป็นส่งผลเสียแทน เพราะฉะนั้นกินแต่พอดี และควรกินอาหารอื่น ๆ ให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนะคะ
1
2